etc. / i.e. / e.g. / et al

หลายคนคงคุ้นเคยกับตัวย่อ etc. / i.e. / e.g. / et al กันมาพอสมควร แต่พยายามนึกเท่าไรก็นึกไม่ออก ว่ามันย่อมาจากอะไรกัน วันนี้เลยเอาที่มาที่ไปของคำสี่คำนี้มาฝากครับ

(1) etc. มาจากภาษาละตินว่า et cetera ซึ่งหมายถึง and other things แปลไทยได้เป็น “และอื่นๆ” โดยที่ et มีความหมายว่า and ในขณะที่ cetera  มีความหมายว่า the rest ในภาษาอังกฤษจะใช้คำนี้อยู่ท้ายประโยค คล้ายๆ กับ คำว่า ฯลฯ ในภาษาไทยครับ (เวลาอ่าน etc ให้ออกเสียงว่า … and so forth)
ตัวอย่าง:
He was experted in tropical diseases: malaria, typhoid, fever, etc.
เขาเชี่ยวชาญในเรื่องของเวชศาสตร์เขตร้อน ไม่ว่าจะเป็น มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้หวัด และอื่นๆ

(2) i.e. มาจากภาษาละตินว่า id est ซึ่งหมายถึง that is แปลไทยได้เป็น “นั่นก็คือ”
ตัวอย่าง:
Asbestos is carcinogenic, i.e., cancer-causing.
แอสบิสทอสเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งก็คือสารที่ทำเกิดโรคมะเร็งได้

(3) e.g. มาจากภาษาละตินว่า exampli gratia มีความหมายถึง for example
แปลไทยได้เป็น “ตัวอย่างเช่น”
ตัวอย่าง:
She loves Shakespeare’s comedies, e.g., A Midsummer Night’s Dream.
เธอชอบบทประพันธ์แนวขำขันของเชกสเปียร์ ตัวอย่างเช่น เรื่อง ราตรีนิมิตแห่งมัธยคิมหันต์

(4) et al คำนี้จะเจอบ่อยๆ เวลาอ่านบทความวิชาการที่อ้างถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาจากภาษาละตินว่า et alibi หมายถึง and others เช่น Aristotle et al.

All is/are Welcome.

ถ้าลองใช้ google เปรียบเทียบระหว่างประโยค “All is welcome.” กับ “All are welcome.” จะได้ผลการค้นหาที่ไม่ขัดต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่นัก เพราะการใช้กริยา are ในประโยคนี้มีปรากฎในอินเตอร์เน็ตจำนวน 2,250,000 แห่ง ในขณะที่การใช้กริยา is มีปรากฎเพียง 33,100 แห่งเท่านั้น แต่ถ้าพิจารณาตามหลักไวยากรณ์กันอย่างละเอียดแล้วดูเหมือนว่าการใช้กริยา is น่าจะเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าด้วยซ้ำ

ตามไวยากรณ์ที่เรียกว่า subject verb agreement ระบุไว้ว่าเมื่อประธานของประโยคเป็น indefinitive pronoun เช่น someone, somebody, each, either one, everyone หรือ anyone จะต้องใช้กริยาในรูปของ singular form ซึ่งหมายความว่า คำว่า all ซึ่งมีความหมายเดียวกับ everyone ก็ต้องใช้กริยา is ตามหลักการนี้

อย่างไรก็ตาม การที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ประโยคที่ว่า “All are welcome.” นั้น มีสาเหตุมาจากการย่นหรือย่อประโยคนั่นเอง ซึ่งประโยคเต็มนั้นมาจาก “All of you are welcome.” แต่ถ้าใครจะพิเรนทร์อ้างว่าต้นตอของประโยคเต็มนั้นมาจาก “All the audience are welcome.” ก็คงวุ่นวายเข้าไปอีก เพราะว่าคำว่า audience นั้นสามารถใช้ได้กับกริยาเอกพจน์และพหูพจน์ จึงเป็นไปได้ทั้งสองกรณีที่จะบอกว่า All the audience is welcome. และ All the audience are welcome.

สุดท้ายแล้ว จะใช้ All is welcome. หรือ All are welcome. ก็สุดแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ ไม่มีอันไหนผิดหรือถูก เว้นเสียแต่ว่าความนิยมมันแตกต่างกันเท่านั้น

ังไงก็ขอใช้คำแบบไทยๆ ว่ายินดีต้อนรับ” ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชม wordpress นี้แล้วกันครับ